วิเคราะห์และเชื่อมโยงการมีอยู่ของชุมชนม้งเข็กน้อย

วิเคราะห์และเชื่อมโยงการมีอยู่ของชุมชนม้งเข็กน้อย

ชาวม้งเข็กน้อย เป็นกลุ่มประชากรที่เข้ามาบุกเบิกที่อยู่อาศัยและที่ทำกินในบริเวณพื้นที่รอยต่อสามจังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย ตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. 2465 โดยเปรียบเทียบจากเหตุการณ์และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองหรือสงครามญี่ปุ่น สงครามอินโดจีน การปลูกฝิ่นในประเทศไทย การต่อสู้ด้วยกำลังระหว่างรัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จนสิ้นสุดสงครามการต่อสู้ด้วยอาวุธถึงปัจจุบัน ประกอบกับการเกิดขึ้นและเข้ามาของหน่วยงานภาครัฐ เช่น โรงเรียนประชาบาล14 ตำรวจตระเวรชายแดน ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา กองทัพภาคที่ 3 ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ครั้งอดีตล้วนยืนยันว่าในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวมีประชากรชาวม้งอาศัยอยู่ก่อน
แล้วเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบว่าการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวม้งในพื้นที่ด้วยกันเองและกับชาวไทยพื้นราบล้วนผ่านระบบและกลไกของหน่วยงานภาครัฐเป็นสำคัญ มีการแต่งตั้งผู้นำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน มีการเก็บเกี่ยวภาษีฝิ่น และภาษีอื่นๆ โดยปรากฏจากหลักฐานเอกสารการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน บัตรประจำตัวประชาชน เอกสารการศึกษา เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีองค์การศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก(คริสตัง) และโปรเตสแตนท์(คริสเตียน) เข้ามาเผยแพร่และส่งเสริมการนับถือศาสนาในหมู่บ้านชาวม้งตั้งแต่อดีตและมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่กลุ่มชาวม้งที่ออกมาอยู่กับฝ่ายรัฐบาลในวันเสียงปืนแตกก่อนที่จะไปอยู่ในความดูแลของทางราชการแม้ว่าชาวม้งในพื้นที่จะมีการเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งตลอดเวลาในระหว่างที่อยู่ในพื้นที่ แต่ก็เป็นการเคลื่อนย้ายที่มีหมู่บ้านและชุมชนรองรับ ไม่ได้เคลื่อนย้ายออกไปยังที่อื่น และมีการจับจองและเข้าแสดงการครอบครองที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองอย่างชัดแจ้ง การครอบครองที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยมิได้หมายความแต่เพียงว่า
ต้องมีการถาดถางต้นไม้หรือตัดไม้ทำลายป่าให้มีพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกทุกตารางนิ้ว แต่การอาศัยอยู่ในป่ายังคงต้องพึ่งพาระบบนิเวศน์ในป่า ดังนั้นการไม่ตัดไม้หรือแผ้วถางให้หมดจึงมิได้หมายความว่าไม่ใช่ที่ซึ่งพวกเขาอยู่อาศัยหรือทำกินในทางตรงข้ามยิ่งแสดงให้เห็นถึงการหวงแหนและการผูกพันต่อทรัพยากรธรรมชาติที่ตนเองต้องใช้ชีวิตอยู่ กรณียังคงเด่นชัดเมื่อมีการต่อสู้ด้วยอาวุธระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่มวลชนของพรรคคอมมิวนิสต์ตรึงพื้นที่อยู่ในป่าแต่ก็มิได้ตัดไม้ทำลายป่าแต่กลับใช้ป่าเป็นที่กำบังทำให้สามารถคงไว้ซึ่งทรัพยากรป่าไม้เป็นจำนวนมากใน
ขณะนั้น การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่เตียนโล่งให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยเหตุผลความมั่นคง (ปลอดภัยจากการซุ่มโจมตีของ ผกค.) การสัมปทานป่าไม้และการเพิ่มพื้นที่การปลูกพืชเศรษฐกิจ ก็ล้วนมาจากนโยบายของรัฐทั้งสิ้น ชาวม้งในพื้นที่เพียงแต่เคลื่อนไหลไปกับปัจจัยที่รัฐเป็นผู้กำหนด ในขณะที่รัฐต้องการควบคุมและกลมกลืนกลุ่มประชากรนี้โดยใช้กลไกเครื่องมือทางกฎหมาย เช่น การออกมติคณะรัฐมนตรี การกำหนดนโยบายพัฒนาชาวเขา การกำหนดเขตแดนให้อยู่อาศัยและทำกิน การปราบปรามยาเสพติด และการจำกัดสิทธิของชาวเขา ก็ล้วนแล้วแต่กระทำอย่างคู่ขนานไปกับการมี
อยู่และพัฒนาการของพวกเขาอย่างที่รัฐไม่เคยคำนึงถึงปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดแก่ประชากรกลุ่มนี้ในระยะยาวอย่างเช่นปัจจุบัน ทำให้ปัญหาต่างๆ ไม่สามารถแก้ไขได้อย่างที่ควรจะเป็น
การเข้ามาของเจ้าหน้าที่รัฐในแต่ละยุคสมัยก็ขาดการส่งต่อ และขาดแผนที่ดีสำหรับหน่วยงานรัฐด้วยกันเองเจ้าหน้าที่ผู้มาใหม่จึงขาดความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและไม่สามารถเชื่อมต่อสถานการณ์ต่างๆ ในพื้นที่ แต่กลับยึดเอานโยบายจากส่วนกลาง ระเบียบและข้อกฎหมายเป็นหลัก ทำให้สัมพันธภาพกับชุมชนในพื้นที่ไม่ค่อยราบรื่นและกลายเป็นความขัดแย้งไปในที่สุด จากบทเรียนที่กล่าวมาในตอนแรกก็เห็นแล้วว่าการเข้ามาของรัฐและการแทรกซึมของพรรคคอมมิวนิสต์ทำให้ชุมชนและหมู่บ้านม้งทั้งหมดต้องแตกสลายไปในปี พ.ศ. 2511เมื่อก่อตั้งบ้านเข็กน้อยได้อีกครั้ง และทุกคนกลับมาอยู่รวมกันที่เข็กน้อยอีกครั้งหนึ่ง จนเป็นชุมชนม้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ชาวม้งตำบลเข็กน้อยจึงไม่ต้องการซ้ำรอยเดิม แต่ต้องการรักษาชุมชนม้งแห่งนี้ไว้มิให้ต้องแตกสลายไป ดังนั้น การมีตัวตนอยู่ของพวกเขาตั้งแต่บรรพบุรุษ และประสบการณ์ของพวกเขาจึงเป็นความชอบธรรมอย่างหนึ่งในการไม่เห็นด้วยและจำเป็นต้องคัดค้านต่อปัจจัยภายนอกที่อาจเข้ามาสร้างปัญหาต่อพวกเขาเหมือนอย่างในอดีตอีกจากเหตุการณ์ ปัจจัยต่างๆ และความรู้สึกผูกพันเหล่านี้จึงเป็นเสมือนเครื่องยืนยันว่าชาวม้งเข็กน้อยที่นี่ทุกคนเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมในพื้นที่รอยต่อสามจังหวัด เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย พวกเขาชอบที่จะอยู่และทำกินบนที่ดินซึ่งพรรพบุรุษของพวกเขาได้เข้ามาบุกเบิกตั้งแต่แรก อย่างน้อยที่สุดพวกเขาก็มีสิทธิในการปกป้องรักษาและแสดงความไม่เห็นด้วยตลอดจนการคัดค้านโครงการ หรือปัจจัยต่างๆ จากภายนอกที่อาจเป็นปัญหาและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของพวกเขาทั้งปัจจุบันและในอนาคต อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีการรับรองไว้ในหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550โดยสรุปก็คือ ชาวม้งที่นี่เข้ามาบุกเบิกจับจองเพื่ออยู่อาศัยและทำกินตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. 2465 เป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 8,000 คน จนถึงปี พ.ศ. 2511 ชุมชนม้งในพื้นที่แยกเป็นสองกลุ่มใหญ่เมื่อเกิดการสู้รบระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ กลุ่มแรกเข้าร่วมคอมมิวนิสต์อยู่ในพื้นที่ไม่ได้ย้ายไปที่อื่น ส่วนกลุ่มที่สองเข้าร่วมกับรัฐบาล กลับมาอยู่ในพื้นที่ ณ บ้านเข็กน้อย ในปี พ.ศ. 2513 ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 กลุ่มที่เข้าร่วมคอมมิวนิสต์ได้มาอยู่ร่วมเมื่อสิ้นสุดการสู้รบ
ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งในระหว่างนี้รัฐเพิ่งเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเริ่มจากปี พ.ศ. 2502, 2509โดยมีมติ ครม. กันพื้นที่เพื่อจัดตั้งนิคมสงเคราะห์ชาวเขา จำนวน 212,500 ไร่ ประกาศพื้นที่เป็นอุทธยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงทับที่ของชาวบ้าน ในปี พ.ศ. 2506 กองทัพภาคที่ 3 ขอใช้พื้นที่เพื่อความมั่นคงจำนวน 20,000 ไร่ในปี พ.ศ. 2515มีกฎหมายที่ราชพัสดุในปี พ.ศ. 2518 และในปี พ.ศ. 2545 ครม. ก็ได้มีมติให้คืนที่ดินนิคมฯ บางส่วนแก่กรมป่าไม้อันเป็นการเข้ามาภายหลังการมีอยู่ก่อนแล้วของชุมชนม้งในเขตรอยต่อสามจังหวัด เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย

ประชากรตำบลเข็กน้อย

ตำบลเข็กน้อย มีประชากรทั้งหมด 2,864 ครัวเรือน 12,818 คน 
มีหมู่บ้านทั้งหมด 12 หมู่บ้านได้แก่



หมู่ที่ 1       บ้านห้วยน้ำขาว มีประชากร 202 ครัวเรือน 921 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 2        บ้านเข็กน้อย (บ้านน้ำประปา) มีประชากร 318 ครัวเรือน 1,095 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 3        บ้านป่ากล้วย มีประชากร 230 ครัวเรือน 948 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 4        บ้านเข็กน้อย มีประชากร 351 ครัวเรือน 1,178 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 5        บ้านเล่าลือเก่า มีประชากร 296 ครัวเรือน 1,301 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 6        บ้านปากทาง มีประชากร 297 ครัวเรือน 1,306 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 7        บ้านศักดิ์เจริญ มีประชากร 77 ครัวเรือน 501 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที 8        บ้านชัยชนะ มีประชากร 158 ครัวเรือน 834 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 9        บ้านประกอบสุข มีประชากร 152 ครัวเรือน 747 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 10       บ้านเจริญพัฒนา มีประชากร 298 ครัวเรือน 1,493 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 11       บ้านคีรีรัตน์ มีประชากร 224 ครัวเรือน 1,042 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 12       บ้านสันติสุข มีประชากร 261 ครัวเรือน 1,452 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผู้อาวุโสชาวม้งในพื้นที่ผู้ร่วมให้ข้อมูล






คณะทำงานติดตามการแก้ไขปัญหาที่ดินตำบลเข็กน้อย

คณะทำงานติดตามการแก้ไขปัญหาที่ดินตำบลเข็กน้อย
รายชื่อคณะทำงานติดตามการแก้ไขปัญหาที่ดินตำบลเข็กน้อยประกอบด้วย

1. นายจือตัว แสงวิริยนาม ตัวแทนจากหมู่1
2. ร.ต.วิเชียร อรรถยากร ตัวแทนจากหมู่2
3. นายเอกชัย คีรีรัตน์สกุล ตัวแทนจากหมู่3
4. นายประจวบ ฤทธิ์เนติกุล ตัวแทนจากหมู่ 4
5. นายยี แซ่เถา ตัวแทนจากหมู่5
6. นายรณชัย การุณบริรักษ์ ตัวแทนจากหมู่6
7. นายวิทยา เถาไพรมณี ตัวแทนจากหมู่7
8. นายดะ ทรงสวัสดิ์วงศ์ ตัวแทนจากหมู่8
9. นายคุณาวุฒิ แซ่ลี ตัวแทนจากหมู่9
10. นายสุพจน์ ทรงสวัสดิ์วงศ์ ตัวแทนจากหมู่10
11. นายสุเมศ ศักดิ์เจริญชัยกุล ตัวแทนจากหมู่11
12. นายสุบิน การุณบริรักษ์ ตัวแทนจากหมู่12
13. นายกำจัด แสนยากุล ตัวแทนจากชมรมทหารผ่านศึก
14. นายยงยุทธ สืบทายาท จากที่ประชุมชาวบ้านตำบลเข็กน้อย


คณะทำงานฯ ได้เลือกแกนนำจำนวน 6 คน เพื่อทำหน้าที่
ในการติดต่อประสานงานและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ได้แก่

1. นายประจวบ ฤทธิ์เนติกุล
2. จ.ส.อ. ชาญชัย แสนยากุล
3. นายยงยุทธ สืบทายาท
4. นายสมชาย ชาววิวัฒน์
5. นายสุพจน์ ทรงสวัสดิ์วงศ์
6. นายสิทธิชาติ แซ่หว้า
คณะที่ปรึกษาประกอบด้วย
1. ผู้อาวุโสจากแต่ละตระกูลแซ่ทุกแซ่
2. สมาชิกสภาจังหวัดเพชรบูรณ์ เขตเขาค้อ
3. กำนันตำบลเข็กน้อย
4. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย
5. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย
6. ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน
7. สมาชิก อบต. ทุกหมู่บ้าน


รายชื่อคณะทำงานติดตามการแก้ไขปัญหาที่ดินตำบลเข็กน้อยประกอบด้วย

1. นายจือตัว แสงวิริยนาม ตัวแทนจากหมู่1
2. ร.ต.วิเชียร อรรถยากร ตัวแทนจากหมู่2
3. นายเอกชัย คีรีรัตน์สกุล ตัวแทนจากหมู่3
4. นายประจวบ ฤทธิ์เนติกุล ตัวแทนจากหมู่ 4
5. นายยี แซ่เถา ตัวแทนจากหมู่5
6. นายรณชัย การุณบริรักษ์ ตัวแทนจากหมู่6
7. นายวิทยา เถาไพรมณี ตัวแทนจากหมู่7
8. นายดะ ทรงสวัสดิ์วงศ์ ตัวแทนจากหมู่8
9. นายคุณาวุฒิ แซ่ลี ตัวแทนจากหมู่9
10. นายสุพจน์ ทรงสวัสดิ์วงศ์ ตัวแทนจากหมู่10
11. นายสุเมศ ศักดิ์เจริญชัยกุล ตัวแทนจากหมู่11
12. นายสุบิน การุณบริรักษ์ ตัวแทนจากหมู่12
13. นายกำจัด แสนยากุล ตัวแทนจากชมรมทหารผ่านศึก
14. นายยงยุทธ สืบทายาท จากที่ประชุมชาวบ้านตำบลเข็กน้อย

คณะทำงานฯ ได้เลือกแกนนำจำนวน 6 คนเพื่อทำหน้าที่ในการ
ติดต่อประสานงานและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ได้แก่

1. นายประจวบ ฤทธิ์เนติกุล
2. จ.ส.อ. ชาญชัย แสนยากุล
3. นายยงยุทธ สืบทายาท
4. นายสมชาย ชาววิวัฒน์
5. นายสุพจน์ ทรงสวัสดิ์วงศ์
6. นายสิทธิชาติ แซ่หว้า

คณะที่ปรึกษาประกอบด้วย

1. ผู้อาวุโสจากแต่ละตระกูลแซ่ทุกแซ่
2. สมาชิกสภาจังหวัดเพชรบูรณ์ เขตเขาค้อ
3. กำนันตำบลเข็กน้อย
4. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย
5. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย
6. ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน
7. สมาชิก อบต. ทุกหมู่บ้าน

เอกสารหลักฐานต่างๆ ที่แสดงถึงการมีอยู่ของชุมชนม้งในเขตรอยต่อสามจังหวัด เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย














แผนที่แสดงที่ตั้งของชุมชนม้งในเขตรอยต่อสามจังหวัด เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย


เส้นทางการเคลื่อนย้ายชุมชนม้งเขตเพชรบูรณ์ ก่อนปี พ.ศ. 2465 จาก A1  A2  A3
เส้นทางการเคลื่อนย้ายชุมชนม้งเขตเพชรบูรณ์ ก่อนปี พ.ศ. 2475 จาก B2  B3, B4, B5, B6, B7, B8  B3
เส้นทางการเคลื่อนย้ายชุมชนม้งเขตพิษณุโลก ก่อนปี พ.ศ. 2475 จาก C1  C2, C3  C4, C2  B3
เส้นทางการเคลื่อนย้ายชุมชนม้งเขตเลย ก่อนปี พ.ศ. 2475 จาก D1  D2, D3  B3

ประวัติความเป็นมาของชุมชนม้งในเขตรอยต่อสามจังหวัด เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย /ปัญหาความต้องการของชุมชน


ประมาณปี พ.ศ. 2465 มีชาวม้งจำนวนหนึ่งได้โยกย้ายถิ่นฐานจากจังหวัดน่านเข้ามาบุกเบิกตั้งถิ่นฐานอยู่ใน
พื้นที่บริเวณเทือกเขารอยต่อสามจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย เนื่องจากมีสภาพอากาศ
เย็นเหมาะแก่การทำไร่ฝิ่น1 และอยู่อาศัย2 วิถีชีวิตการเป็นอยู่ก็เป็นแบบทำไร่หมุนเวียน3 เลี้ยงสัตว์ ห่างไกลเส้นทางคมนาคม โดยกระจายตั้งถิ่นฐานตามพื้นที่ดังนี้บริเวณภูเขาขาด ภูทับเบิก ภูเขาย่า เขตจังหวัด

เพชรบูรณ์กลุ่มม้งที่เข้ามาบุกเบิกในพื้นที่รอยต่อสามจังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย เป็นกลุ่มแรก คือกลุ่มม้งที่เข้ามาบุกเบิกในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยแรกเริ่มเดิมทีได้เข้ามาทำกินและอยู่อาศัยเป็นการชั่วคราวที่บ้านน้ำก้อเหนือ / NavKauv ตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มเก่า (ขณะนั้นยังไม่มีอำเภอหล่มสัก4) จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2465 ภายใต้การนำของ นายเย้ง แซ่สง Yeeb Xyooj มีประชากร 80 หลังคาเรือน 6505 คน อยู่ได้ประมาณ 2 ปี นายเย้ง แซ่สง ก็ถูกคนร้ายฆ่าตาย ชาวบ้านทั้งหมดก็ย้ายไปอยู่ที่บ้านน้ำหมัน ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย แต่อยู่ไม่นานก็ย้ายไปที่บ้านใต้ผา/ทับเพียง /Tuam Pheej มีผู้ใหญ่บ้านที่เป็นผู้หญิง ชื่อ (จำไม่ได้6) ซึ่งเป็นภริยาของนายป้ากี่ แซ่ท่อNiam Pajkim Thoj ประมาณ ปี พ.ศ. 2475 เกิดเหตุการณ์หมู่บ้านถูกปล้น และผู้หญิงถูกข่มขืน ชาวบ้านจึงพากันย้ายไปอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ทำให้หมู่บ้านใต้ผา/ทับเพียงต้องสลายไปโดยปริยาย ในเวลาต่อมาก็มีการก่อตั้งหมู่บ้านต่างๆ ในเขตภูเขาขาด ภูทับเบิก และภูเขาย่า ตามลำดับ ได้แก่



บ้านเข็กเก่า  Qub Zos Khej ตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2475 มีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายหลือ แซ่สง / Lwm (Npliajyaj /Txwjpov Xyooj) คนถัดมา (มีหมายตั้ง) ชื่อ นายไส แซ่หว้า / Xaivnus Vaj นายเต๋ง แซ่หยาง / Txiajteem Yaj และนายสร้าง แซ่หยาง / Pajxab Yaj ตามลำดับ ประชากรในขณะนั้นมี 400 คน
การปลูกฝิ่น และเสพฝิ่น ไม่เป็นการผิดกฎหมายจนกระทั่งมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ห้ามการปลูกฝิ่นและเสพฝิ่น และต่อมามีการตราเป็นพระราชบัญญัติยาเสพติด พ.ศ. 2519 และ 2522 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตลอดจนกฎหมายวิธีพิจารณาคดียาเสพติด


ชาวม้ง นิยมสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่ในที่สูงที่มีอากาศเย็น ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ
การทำไร่ ของชาวม้งเป็นการทำไร่แบบหมุนเวียน ซึ่งแต่เดิมทางการเข้าใจว่าเป็นการทำไร่เลื่อนลอย ลักษณะของไร่หมุนเวียน คือ ทำกินไปสัก 2 – 3 ปีติดต่อกัน จากนั้นจะปล่อย
ร้างไว้ประมาณ 2 – 3 ปีจะกลับมาทำกินใหม่ โดยผู้จับจองคนแรกจะเป็นเจ้าของไร่ผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ผู้อื่นไม่สามารถมาครอบครองทำกินหรือ


















อ้างสิทธิได้แม้เวลาจะผ่านไปกี่ปีก็ตาม เว้นแต่จะได้รับการยินยอมจากเจ้าของเสียก่อนเดิมอำเภอหล่มสัก
เป็นเมืองหล่มสักเทียบเท่าจังหวัดแต่ถูกลดฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่

1เม.ย. 2459 เรียกว่าอำเภอวัดป่า ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหล่มสักเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2481 (ข้อมูล: อำเภอดอทคอม)การคำนวณจำนวนประชากรโดยประมาณที่ครอบครัวละ 8-10 คน เพราะว่าสมัยก่อนชาวม้งนิยมมีลูกมาก มีการใช้แรงงานภายในครอบครัวเป็นหลักชาวม้งเมื่อแต่งงานแล้วจะไม่นิยมเรียกชื่อของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว แต่จะเรียกตามชื่อของสามีที่ผู้หญิงนั้นแต่งงานด้วย นานไปจึงไม่มีใครจำชื่อของผู้หญิงม้งที่แต่งงานแล้วได้ จะจำแต่เฉพาะชื่อของสามี

บริเวณภูหินร่องกล้า เขตจังหวัดพิษณุโลก มีหมู่บ้านตามลำดับได้แก่

1. บ้านร่องกล้า / Hooj Kav อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2475 ภายใต้การนำของนายเก๋อ แซ่ลี/ Txawjkawm Lis มีผู้ใหญ่บ้านชื่อนายเก๋อ แซ่ลี และนายเปลี้ยท้ง แซ่ลี / Npliajthoob Lis มีประชากรประมาณ 100 หลังคาเรือน 800 – 1,000 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่าง
รัฐบาลและคอมมิวนิสต์รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน ประมาณ 36 ปี



2. บ้านป่าหวาย / Roob Nplooj หมู่ที่ 14 ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทยจังหวัดพิษณุโลก ก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีพ.ศ. 2480 ภายใต้การนำของนายซัว แซ่ลี และนายจูเซ้ง แซ่หว้า มีผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ นายจูเซ้ง แซ่หว้า(ไม่มีหมายตั้ง) นายจ้งมา แซ่ลี(ไม่มีหมายตั้ง) และต่อมาคือนายไก่ แซ่ลี(มีหมายตั้ง) มีจำนวนประชากรประมาณ 136 หลังคาเรือน ประชากร 3,000 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน ประมาณ 31 ปี

3. บ้านป่าข้อโป / Tiaj Xyoob Iab ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2496 ภายใต้การนำของนายยี แซ่ลี และนายจอ แซ่ลี มีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายลี แซ่ลี Nchaivlis Lis ประชากร 200หลังคาเรือน 800 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2505 สาเหตุเพราะชาวบ้านแยกย้ายไปอยู่ยังหมู่บ้านใหม่คือบ้านห้วยทรายเหนือ-ใต้และบางส่วนกลับไปอยู่ตามหมู่บ้านอื่น รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน ประมาณ 9 ปี

4. บ้านห้วยทรายเหนือ-ใต้ ก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2505 ผู้บุกเบิกคือ นายทอง แซ่ลี Ntchaivtoog Lis (บิดาของอาจารย์สมบุญ ฤทธิ์เนติกุล รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเข็กน้อย) มีผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายทอง แซ่ลี ประชากร 300หลังคาเรือน 3,000 คน (มาจากบ้านป่าข้อโป) สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน ประมาณ 6 ปี

บริเวณภูขี้เถ้า เขตจังหวัดเลย มีหมู่บ้านตามลำดับ ได้แก่

บ้านภูขี้เถ้า ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ก่อตั้งเมื่อประมาณก่อน ปี พ.ศ. 2475 (ก่อนมีบ้านร่องกล้า)ผู้บุกเบิก นายเต๋ง แซ่ท่อ /Pajteev Thoj มีผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายเต๋ง แซ่ท่อ และนายคึ แซ่เล่า / Vamkhwb Lauj นายเปลี้ยเชียะ
แซ่หยาง / Npliajsiab Yaj นายหลือ แซ่เล่า /NomLwm Lauj นายป๋อ แซ่สง / Ntsumpov Xyooj
ตามลำดับ จำนวนประชากร 250 หลังคาเรือน 1,500 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน ประมาณมากกว่า 36 ปี


บ้านป่ายาบ / Pas Nyab ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2480 ผู้บุกเบิก นายตั๋ว แซ่ท่อ / Nomtuam Thoj มีผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายยี แซ่ท่อ /Nyiajyig Thoj และนายจื้อ แซ่เล่า /Tshuasntxawg Lauj จำนวนประชากร 120 หลังคาเรือน 1,000 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2514 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์โดยทางการไปรับมาอยู่ที่เข็กน้อย รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 26 ปีหลังคาเรือน 3,000 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน
ประมาณ ปี พ.ศ. 2505 สาเหตุเพราะชาวบ้านส่วนใหญ่แยกย้ายกันไปก่อตั้งหมู่บ้านใหม่และไปอยู่ยังหมู่บ้านอื่น เป็นยุคการเลิกปลูกฝิ่น หันไปปลูกข้าวโพด กะหล่ำปลี ชาวม้งจึงพากันไปหาที่ทำกินใหม่ในพื้นที่ใหม่รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 30 ปี

................................................







บ้านเขาขาด / Qhoj Khab หมู่ 10
ตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2501ผู้นำบุกเบิก นายโก๊ะ แซ่หยาง / Nomkaub Yaj มีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายโก๊ะ แซ่หยาง ประชากร 40 หลังคาเรือน 300คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 10ปี




..............................................................



บ้านห้วยป่าสอด หรือบ้านเล่าสร้าง หรือบ้านเข็กน้อย (บ้านเข็กน้อยในปัจจุบัน) /Pajxab Zos ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2502 ผู้บุกเบิก นายสร้าง แซ่หยาง / Pajxab Yaj มีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสร้าง แซ่หยาง นายโซ้แซ่หยาง /Nkajxauv Yaj ตามลำดับ (นายอำเภอหล่มสักขณะนั้นชื่อนายสิทธิเดช นรธารรักษา) ประชากร 40 หลังคา
เรือน 300 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ โดยกลุ่มของนายโซ้ แซ่หยาง เข้าป่าเป็นคอมมิวนิสต์ ส่วนกลุ่มนายสร้าง แซ่หยาง ออกมาอยู่กับฝ่ายรัฐบาล รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 9 ปี







...............................................




 

บ้านทับเปา หรือทับเบิก / Thab npawb ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2475 มีผู้นำหมู่บ้าน / ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายเก๋ง แซ่ท่อ /Nyiajkeem Thoj ประชากร 100 หลังคาเรือน 800 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 36 ปีมีบ้านบริวารใกล้เคียงกับบ้านป่ายาบ





คือ บ้านสนามกุ้ง / Samnam Coov ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2501 มีผู้นำ ชื่อ นายเหล่าเหย็ง แซ่หลี / Txawjyeej Lis ประชากร 25 หลังคาเรือน 150 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 10 ปี

























บ้านเล่านะ  /Nchaiv Nab Zos ตำบลป่าเลา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2504 ผู้บุกเบิกนายใจนะ แซ่หยาง มีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายจุบี แซ่วือ Ntsumbis Vwj ประชากร 120 หลังคาเรือน 800 คน มาจากบ้านเข็กเก่า สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 7 ปี มีบ้านบริวาร คือ บ้านหูช้าง ตำบลป่าเลา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2504 ประชากร 90 หลังคาเรือน 700คน บางส่วนมาจากจังหวัดตาก สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 7 ปี


บ้านเสาร์เน้ง  / Caiv Neeb Zos ตำบลป่าเลา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2504 ผู้บุกเบิก นายโสว์เน้ง แซ่หว้า มีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายโสว์เน้ง แซ่หว้า ประชากร 100 หลังคาเรือน 900 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 7 ปี มีบ้านบริวาร คือ บ้านเฒ่าช่างเหล็ก /Yawg Laus Kws Hlau ตำบลป่าเลา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2504 มีประชากร 50 หลังคาเรือน 400 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 7 ปี








บ้านโฮว์เข้ / Zos Hauv Khej ตำบลป่าเลา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2504 มีประชากร 30หลังคาเรือน 200 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์





บ้านเล่าลือ / Tsav Lwv Zos ตำบลป่าเลา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2505 ผู้บุกเบิก นายเล่าลือ แซ่คำ มีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายเล่าลือ แซ่คำ /Tsavlwv Khaab ประชากร 120 หลังคาเรือน 1,000 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2519 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์โดยทางรัฐไปรับมายู่ที่เข็กน้อย รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 14 ปี






บ้านเขาย่า อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2505 ผู้บุกเบิก/ผู้ใหญ่บ้านคือ นายท้ง แซ่สง/Nyiajthoob Xyooj ประชากร 100 หลังคาเรือน 900 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 6 ปี





บ้านทุ่งสะเดาะพงหนองหวานเย็น ตำบลท่าพล อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2507 ผู้บุกเบิก/หัวหน้าบ้านคือ นายโล่ง แซ่หลอ /Ntsuablooj Lauj ประชากร 120 หลังคาเรือน 1,000 คน สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ.2511 สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 4ปี




บ้านเขาค้อ / Zos Qhom Qhaus ตำบลน้ำชุน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2504 ผู้บุกเบิก/ผู้นำหมู่บ้าน นายเยีย แซ่ลี /Ntxoovyias Lis ประชากร 300 หลังคาเรือน 2,500 คน (รวมเผ่าลีซอ 50 หลังคาเรือน) สิ้นสุดหมู่บ้าน พ.ศ. 2511สาเหตุเพราะการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ รวมระยะเวลาการมีหมู่บ้าน 7 ปี


ปัจจัยภายนอกรอบแรกที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนม้งในเขตรอยต่อสามจังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย





พ.ศ. 2485  เป็นช่วงระยะที่มีการกดขี่ข่มแหงราษฎรโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ซึ่งห่างไกลความเจริญ ประกอบกับเป็นช่วงที่มีสงครามโลกครั้งที่2 ซึ่งไทยต้องเผชิญกับกองทัพของทหารญี่ปุ่น และแรงกดดันจากประเทศมหาอำนาจทางยุโรปและอเมริกา เป็นยุคข้าวยากหมากแพง มีการลอบฆ่าผู้นำ ทำร้ายประชาชน และปล้นชิงทรัพย์อยู่เนืองๆ หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เข้าสู่สงครามเย็น (คอมมิวนิสต์ กับประชาธิปไตย) คอมมิวนิสต์เริ่มเข้ามาอาศัยช่วงจังหวะนี้ชักชวนและดึงมวลชนชาวม้งในพื้นที่เข้าเป็นแนวร่วมคอมมิวนิสต์ ในเวลาต่อมาก็มีพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ 

พ.ศ. 2495 ให้อำนาจอย่างมากมายแก่ฝ่ายทหารในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์

พ.ศ. 2500 - 2505 ชาวม้งในหมู่บ้านต่างๆ มีการแยกย้ายไปก่อตั้งหมู่บ้านใหม่ๆ กันหลายหมู่บ้านและมีผู้นำเป็นของตนเอง สาเหตุเพราะต้องการขยายพื้นที่ทำกินด้วยการปลูกข้าวโพด กะหล่ำปลี หลังเลิกปลูกฝิ่น และมีการแบ่งเป็นกลุ่มกันอย่างเด่นชัด แต่หมู่บ้านต่างๆ ก็ยังอยู่ภายใต้การดูแลของทางราชการทุกหมู่บ้าน พ.ศ. 2502 มีมติ ครม. จัดตั้งนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขาในพื้นที่ที่มีชาวเขาอยู่อย่างหนาแน่น 4 แห่งประมาณ 600,000 ไร่ ประกอบด้วย ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ดอยมูเซอ จังหวัดตาก ดอยภูลมโล เขตติดต่อจังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย และดอยม่อนแสนใจ จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมชาวเขาที่อยู่กระจัดกระจายซึ่งยากแก่การพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ได้อย่างทั่วถึง ให้เข้ามาตั้งหลักแหล่ง และประกอบอาชีพเป็นการถาวรในเขต “นิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา” ทั้งในด้านการส่งเสริมอาชีพการเกษตร อุตสาหกรรมในครัวเรือน ด้านการศึกษา การอนามัย ด้านการสังคมสงเคราะห์ด้านการจัดสรรที่ดิน เพื่อการครองชีพเป็นต้น (ประวัติความเป็นมา: ก้าวแรกของการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา) และได้มีมติ ครม. ในปี พ.ศ. 2509 มอบพื้นที่ให้กรมประชาสงเคราะห์ไปดำเนินการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขาในพื้นที่ติดต่อระหว่าง 3 จังหวัด คือ จังหวัเพชรบูรณ์ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเลย รวมเป็นเนื้อที่ 212,500 ไร่ในปี พ.ศ. 2502 รัฐบาลได้ออกกฎหมายห้ามปลูกฝิ่น (ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม2501) ชาวม้งเลิกปลูกฝิ่นหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ข้าวโพด กะหล่ำปลี มันสำปะหลัง และปลูกไม้ผล โดยการส่งเสริมของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

พ.ศ. 2502 – 2507 มีมิชชันนารีผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ และคาทอลิกเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในพื้นที่ และมีผู้รับเชื่อมากขึ้นในเวลาต่อมา

พ.ศ. 2506  มีการประกาศเขตพื้นที่อุทธยานทุ่งแสลงหลวงทับพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวม้งในเขตพื้นที่ทั้งหมด



พ.ศ. 2507  เริ่มมีการถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ให้แก่ชาวม้งในพื้นที่



พ.ศ. 2509  มีหน่วยปฏิบัติการของรัฐเข้ามาในพื้นที่เพื่อปฏิบัติภารกิจ แต่ก็ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐบาง
หน่วยงานได้ข่มขู่คุกคามประชาชนในพื้นที่จนประชาชนเกิดความหวาดกลัว และมีความหวาดระแวงว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ























พ.ศ. 2510  ขบวนการคอมมิวนิสต์เข้ามาปลุกระดมมวลชนในพื้นที่อย่างหนัก


พ.ศ. 2511  เกิดเหตุการณ์เสียงปืนแตกที่บ้านห้วยทรายเหนือ-ใต้เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2511 ชาวม้งที่เป็นแนวร่วมคอมมิวนิสต์เข้าป่า (อยู่ในพื้นที่) ส่วนชาวม้งที่ไม่ยอมเข้าร่วมเป็นแนวร่วมคอมมิวนิสต์หนีเข้ามาอยู่ในเมืองตามจุดที่ทางราชการจัดไว้รองรับ ได้แก่ศูนย์อพยพบ้านรักไทย หรือบ้านหนองแส ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ รองรับกลุ่มชาวม้งในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ศูนย์อพยพบ้านเทิดไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก รองรับกลุ่มม้งในเขตจังหวัดพิษณุโลกศูนย์อพยพบ้านหนองผักก้าม
ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย รองรับกลุ่มม้งที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกจากบ้าน
เข็กน้อย เขตจังหวัดเพชรบูรณ์

ศูนย์อพยพบ้านหนองแส




















การกลับมาอยู่รวมกันอีกครั้งของชุมชนม้งในเขตรอยต่อสามจังหวัด เพชรบูรณ์ 
พิษณุโลก และเลยโดยมีบ้านเข็กน้อยเป็นศูนย์รวม



พ.ศ. 2513  (20 พ.ค. 13) เปิดพื้นที่บ้านเข็กน้อยเป็นค่ายทหารต่อสู้เพื่อแย่งชิงพื้นที่คืนจากคอมมิวนิสต์โดยกองทัพภาคที่ 3 ได้ชักชวนให้ชาวม้งเข้าร่วมเป็นชาวเขาอาสาสมัครช่วยเหลือทางราชการในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในพื้นที่เขตรอยต่อสามจังหวัด เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย โดยให้คำมั่นว่าหากการสู้รบสิ้นสุดลงเมื่อใดจะให้มีสิทธิอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินในพื้นที่ตลอดไป จึงเป็นข้อตกลงอย่างหนึ่งที่ชาวม้งยอมเอาเลือดเนื้อและชีวิตเข้าร่วมเป็น ชขส.ทำการต่อสู้กับ ผกค. จนกระทั่งสิ้นสุดการสู้รบ
ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2527พ.ศ. 2514 ตั้งหมู่บ้านเข็กน้อย ควบคู่ไปกับค่ายทหารกองร้อยชาวเขาอาสาสมัครที่ 31 และฐานปฏิบัติการยิงสนับสนุนในพื้นที่มีราษฎรชาวม้งจากศูนย์อพยพบ้านรักไทย หรือบ้านหนองแส ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์บ้านเทิดไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก และบ้านหนองผักก้าม ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย
จำนวน 50 – 60 ครัวเรือนมาอยู่ในพื้นที่เป็นแนว


ร่วมในส่วนของพลเรือน ซึ่งทั้งหมดก็เป็นครอบครัว และญาตพี่น้องของการมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486 (เฉพาะเขตพระนคร และธนบุรี) เป็นแบบคล้ายแผ่นพับสี่ตอน ต่อมา พ.ศ.2505 (ทั่วประเทศ) พัฒนาเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปขาวดำพ.ศ. 2531 พัฒนาเป็นแบบมีรูปสี พ.ศ. 2539 เป็นแบบแถบแม่เหล็ก และพ.ศ. 2547 เป็นแบบสตาร์ทการ์ดในปัจจุบันวันเสียงปืนแตกครั้งแรกที่อิสาน เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2508ที่ไร่ทำกินเดิมของชาวม้งจากบ้านห้วยป่าสอด หรือบ้านเล่าสร้าง หรือบ้านเข็กน้อยเหล่าชาวเขาอาสาสมัครที่มาประจำกองร้อยที่นี่ ประชาชนได้เริ่มบุกเบิกและจับจองที่ทำกินเพิ่มเติม ส่วนใครที่เคยจับจองที่ทำกินไหนอยู่ก่อนก็กลับมาทำกินในที่ซึ่งตนเองเคยจับจองและทำกินมาก่อนหน้านี้ มีการต่อสู้และปะทะกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์และรัฐบาลจนต้องมีการประกาศให้ชาวบ้านทำการแผ้วถางป่าเพื่อทำการเกษตรปลูกข้าวโพด และมันสำปะหลังในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับที่ตั้งฐานปฏิบัติการยิงสนับสนุน และตลอดแนวสองข้างทางของถนนสายพิษณุโลก – หล่มสัก ตั้งแต่หลัก กม. 88 – 95 ต่อมาเมื่อทหารสามารถควบคุมพื้นที่ได้จึงเริ่มก่อสร้างอาคารโรงเรียนบ้านเข็กน้อย ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาว
เขา และที่ทำการของหน่วยงานอื่นที่จำเป็น และประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้านตาม พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2475 มีนายโก๊ะ แซ่หยาง เป็นผู้ใหญ่บ้าน และต่อมานายประจวบ ฤทธิ์เนติกุล เป็นผู้ใหญ่บ้านในปี พ.ศ. 2516 ต่อมาได้มีการแยกออกเป็นสองหมู่บ้านเนื่องจากจำนวนประชากรมากขึ้น โดยหมู่บ้านที่แยกขึ้นใหม่ได้เลือกนายมานะ แซ่เฮอ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ในขณะนั้นราษฎรต้องการระบบสาธารณูปโภค เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า เป็นอย่างมากแต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานภาครัฐจึงได้รวมตัวกันไปชุมนุมหน้าที่ว่าการอำเภอหล่มสัก เพื่อเรียกร้องให้มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคตามที่ราษฎรต้องการ จนกระทั่งสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ มีการก่อสร้างถังปล่อยน้ำประปาภูเขาในพื้นที่หมู่บ้านใหม่ที่แยกออกไป จึงเรียกชื่อหมู่บ้านดังกล่าวว่า บ้านน้ำประปา ในเวลาต่อมา


พ.ศ. 2515
  ทหารขอใช้พื้นที่ 20,000 ไร่เพื่อความมั่นคง โดยประกาศของคณะปฏิวัติในขณะนั้นกองทัพภาคที่ 3 ได้ขอกันพื้นที่ดังกล่าวเพื่อใช้ในกิจการเพื่อความมั่นคงทางทหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 มีการตั้ง
กองร้อยปฏิบัติการ และนำราษฎรชาวม้งที่อาสาสมัครช่วยรบ (ชขส.) มาอยู่อาศัยและทำกินตามยุทธศาสตร์ทางทหารในปี พ.ศ. 2513 โดยพื้นที่ดังกล่าวก็เป็นพื้นที่ทำกินเดิมของชาวม้งเหล่านี้อยู่แล้วตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2500ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 มีพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ กำหนดให้ที่ดินในความครอบครองของหน่วยงานรัฐเป็นที่ราชพัสดุและอยู่ในความรับผิด
ชอบของกรมธนารักษ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 กองทัพภาคที่ 3 ก็ทำเรื่องขอส่งคืนพื้นที่จำนวน 20,000 ไร่ให้แก่กรมธนารักษ์แต่กรมธนารักษ์ในขณะนั้นไม่พร้อมรับส่งคืน ทั้งๆ ที่การสู้รบระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ยังไม่ยุติโดยเด็ดขาด และอีกหลายๆ ครั้งในปีต่อๆ มา โดยมิได้มีการปรึกษาหารือกับราษฎรในพื้นที่โดยเฉพาะกับราษฎรชาวเขาอาสาสมัคร (ชขส.) ที่ทางกองทัพภาคที่ 3 เคยให้คำมั่นว่าเมื่อสิ้นสุดการ
สู้รบแล้วทุกคนจะได้สิทธิอยู่อาศัยและทำ กินชั่วลูกชั่วหลาน มิใช่การให้เช่าที่อยู่อาศัยและที่ทำ กิน อีกทั้งมีอำ นาจตามพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น จึงมีข้อที่น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งว่า ทำไมกองทัพภาคที่ 3 จึงไม่ดำเนินการให้ที่ดินจำนวน 20,000 ไร่ซึ่งชาวม้งอยู่อาศัยและทำกินมานานแล้วให้มีความชัดเจนและมีกรรมสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายอย่างที่ได้ตกลงกันไว้เหมือนกับที่อื่นๆ แต่กลับส่งมอบที่ดินคืน
กรมธนารักษ์โดยไม่ยอมให้ราษฎรที่มาช่วยรบอยู่ในพื้นที่ได้รับทราบ

พ.ศ. 2516  มีการก่อสร้างถนนสายทุ่งสมอ – เขาค้อ โดยตัดแยกบริเวณถนนสายพิษณุโลก – หล่มสัก กม. 100(แคมป์สน)

พ.ศ. 2520 – 2527 มีโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก จุดมุ่งหมายคือ ลดอิทธิพล ผกค. เพิ่มอิทธิพลแก่ผ่ายรัฐบาลและเป็นพื้นที่นำร่องสำหรับพื้นที่อื่นในเขตภาคเหนือ (อนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อ, 2527) มีนโยบายตัดและโค่นต้นไม้ตลอดสองข้างถนนออกไปฝั่งละ 1 กิโลเมตร เพื่อป้องกันการแอบซุ่มโจมตีของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.)



พ.ศ. 2522 ชาวม้งในป่าที่เป็นแนวร่วมคอมมิวนิสต์เริ่มทยอยออกมามอบตัวต่อทางการ โดยมาอาศัยอยู่ร่วมกันที่บ้านเข็กน้อย เพราะว่ายังมีการสู้รบกันอยู่ทุกคนจึงต้องอยู่รวมกันที่บ้านเข็กน้อยไปก่อน

พ.ศ. 2523 – 2526  นโยบาย 66/23 ชาวม้งในป่าที่เป็นแนวร่วมคอมมิวนิสต์ออกมามอบตัวต่อทางการทั้งหมดเป็นอันสิ้นสุดการต่อสู้ด้วยอาวุธระหว่าง
รัฐบาลและคอมมิวนิสต์ โดยชาวม้งบางส่วนจะถูกจัดให้อยู่ตามพื้นที่เดิม เช่น บ้านทับเบิก บ้านตูบค้อ บ้านน้ำคับ บ้านน้ำจวง บ้านห้วยทราย บ้านน้ำไซ และบ้านเล่าลือ 


แต่ส่วนใหญ่ที่ไม่มีที่ไปก็มารวมตัวกันอยู่ที่บ้านเข็กน้อย ทำให้บ้านเข็กน้อยในขณะนั้นมีจำนวนประชากรที่หนาแน่นเป็นอย่างมาก ทางราชการได้เข้ามาดูแลในช่วงแรกโดยการแจกข้าวสารและอาหารแห้ง และสร้างอาคารห้องแถวขนาดใหญ่เป็นที่พักพิงเป็นการชั่วคราว แต่ชาวม้งเหล่านี้ก็อาศัยอยู่ในสถานที่พักพิงนี้เป็นเวลานานจนกว่าจะสามารถหาที่อยู่ใหม่เป็นของตนเองได้ สุดท้ายเมื่อมีการ
ประกาศจัดตั้งสภาตำบลเข็กน้อยเมื่อ ปี พ.ศ. 2537 ทางสภาตำบลต้องการใช้พื้นที่บริเวณที่พักพิงเป็นสถานที่ก่อสร้างที่ทำการสภาตำบล จึงให้ราษฎรที่หลงเหลืออยู่ออกจากพื้นที่ไปจนหมดสิ้น

พ.ศ. 2527 นโยบายความมั่นคงให้มีการขยายพื้นที่ทำกินออกไปทางทิศใต้ของบ้านเข็กน้อยฝั่งห้วยน้ำขุ่น หรือฝั่งขวาของถนนสายพิษณุโลก – หล่มสัก แต่ไม่มีมาตรการรองรับ ต่อมามีการห้ามมิให้ชาวบ้านเข้าไปทำกินทำให้ประชาชนไม่มีที่ทำกินและกระทบอย่างมากจนกลุ่มราษฎรผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) ส่วนใหญ่ต้องแยกย้ายไปที่จังหวัดตาก และจังหวัดอื่น ระหว่าง พ.ศ. 2527 – 2531 ชาวม้งที่เป็น ผรท. ที่อาศัยอยู่ที่บ้านเข็กน้อยจำนวนหนึ่ง (ส่วนใหญ่)


ประกาศคณะปฏิวัติ ลงวันที่ 13 ธ.ค. 2515 ให้เพิกถอนที่ดินบางส่วนของอุทธยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เพื่อนำมาขึ้นทะเบียนเป็นของกระทรวงกลาโหมอพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ ณ เขตอุทยานแห่งชาติทุ่งใหญ่นเรศวร / Mes Naj Mooj จังหวัดตาก สาเหตุเนื่องจากไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง และไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐ ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ชาวม้งที่ไปตั้งถิ่นฐาน ณ อุทยานแห่งชาติทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดตาก ได้ถูกอพยพกลับมาอยู่ร่วมกับราษฎรอื่นในพื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ตามโครงการของหลวง

พ.ศ. 2528  มีการลงทะเบียนและจัดทำรายการสัญชาติไทยให้แก่ชาวเขาที่ตกหล่น และชาวเขาที่ออกจากป่ามามอบตัว

พ.ศ. 2532 บ้านเข็กน้อย ยกฐานะเป็นตำบลเข็กน้อยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เป็นสภาตำบลในปี
พ.ศ.2537 เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537

พ.ศ. 2540  สภาตำบลเข็กน้อยได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่23 กุมภาพันธ์ 2540



ปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นรอบสองภายหลังการกลับมาอยู่รวมกันอีกครั้งหนึ่งของชุมชนม้งในบริเวณรอยต่อสาม จังหวัด เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย

พ.ศ. 2525 กองทัพภาค 3 ได้ทำเรื่องขอส่งคืนพื้นที่ราชพัสดุจำนวน 20,000 ไร่ในเขตตำบลเข็กน้อยให้แก่กรมธนารักษ์ทั้งนี้ทางกองทัพภาค 3 มิได้มีการปรึกษาหารือ หรือแจ้งให้ชาวบ้านได้รับทราบถึงเหตุผล ความจำเป็นในการดำเนินการดังกล่าว อีกทั้งไม่ปรากฏว่ากองทัพภาค 3 ได้มีการพยายามคิดค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้เกิดผลเป็นรูปธรรมดั่งที่เคยให้เป็นคำมั่นอย่างแข็งขันแก่ผู้นำชาวม้งให้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยรบ ชขส.และไม่พยายามปฏิบัติตามนโยบาย 66/23 ที่ใช้ดึงแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ออกมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยแต่อย่างใดพ.ศ. 2538 การแพร่ระบาดของยาเสพติด (ยาบ้า) มีความรุนแรงในพื้นที่จากปัญหายาฝิ่นมาเป็นยาบ้ามากขึ้นเป็นลำดับ

พ.ศ. 2545 มีการประกาศสงครามยาเสพติดตามนโยบายรัฐ ชาวม้งถูกเพ่งเล็งว่าเป็นขบวนการค้ายาเสพติด มีชาวม้งตำบลเข็กน้อยถูกวิสามัญฆาตรกรรมและสูญหายเป็นจำนวนมาก กว่า 100 คน

พ.ศ. 2545 ครม. มีมติให้กรมประชาสงเคราะห์คืนพื้นที่นิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเพชรบูรณ์บางส่วนให้กรมป่าไม้รับไปดำเนินการ ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำป่าถล่มบ้านน้ำก้อเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2544 มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทรัพย์สินเสียหายมากมาย

พ.ศ. 2547 มีชาวม้งจากประเทศลาวหลบหนีเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลเข็กน้อยโดยมีวัตถุประสงค์ต้องการเดินทางไปประเทศที่สามโดยมีจำนวนมากกว่า 7,000 คน ต่อมารัฐได้จัดพื้นที่ควบคุมชาวม้งลาวไว้บริเวณบ้านห้วยน้ำขาว และส่งกลับประเทศเดิมได้ทั้งหมดในต้นปี พ.ศ. 2553

พ.ศ. 2549 ชาวม้งที่เป็น ผรท. ร้องเรียนให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาการกลับเข้าพื้นที่เดิมตามนโยบาย 66/23

พ.ศ. 2553 ธนารักษ์จังหวัดเพชรบูรณ์ เข้ามาในพื้นที่และแจ้งว่าจะขอดำเนินการสำรวจพื้นที่ราชพัสดุในเขตพื้นที่ตำบลเข็กน้อยตามโครงการ 1 ล้านไร่กรมธนารักษ์ แต่ราษฎรไม่ยินยอมจึงได้ออกมาคัดค้านการที่กองทัพภาค 3 นำที่ดินขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุและส่งคืนให้แก่กรมธนารักษ์และโครงการ 1 ล้านไร่กรมธนารักษ์




ปัญหาและความต้องการของชาวม้งตำบลเข็กน้อย

1. ที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยไม่มีเอกสารสิทธิ์ทำให้ชาวบ้านขาดความมั่นคงในสิทธิการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่

2. ที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่มีอยู่และที่ดินเป็นที่ลาดชันหน้าดินเสื่อมเร็ว ต้องใช้เวลาในการพักหน้าดินหลายปี

3. หนี้สินและความยากจน

4. ปัญหาสังคม ยาเสพติด

5. ประชากรส่วนใหญ่ขาดโอกาสในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น (ปริญญาตรี)

6. ต้องการกลับไปทำกินในที่ดินเดิมของตนเองตามนโยบายที่ 66/23

7. เกิดความรู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติจากรัฐเพราะเหตุว่าเป็นชาวม้ง (ความแตกต่างทางชาติพันธุ์)


ข้อเสนอแนะ

1. รัฐควรเคารพสิทธิและการมีอยู่ของชาวม้งตำบลเข็กน้อยด้วยการปรึกษาหารือ และให้ราษฎรชาวม้งในพื้นที่ตัดสินใจร่วมในโครงการใดๆ ก็ตามที่จะดำเนินในพื้นที่ซึ่งพวกเขาทำกินและอาศัยอยู่อย่างเต็มใจ ทั้งนี้ตามสิทธิในหลักกฎหมายสากล ได้แก่ พันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ลงนามเป็นภาคี15 ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง (United Nation Declaration on the Rights of Indigenous Peoples) และกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

2. รัฐควรชะลอ หรือยุติโครงการใดที่ชาวบ้านยังไม่สามารถรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้านตลอดจนการให้ความยินยอมเห็นด้วยอย่างเต็มใจ โดยเฉพาะการส่งมอบคืนที่ดินจำนวน 20,000 ไร่ของกองทัพคืนกรมธนารักษ์เป็นที่ราชพัสดุ และโครงการ 1 ล้านไร่กรมธนารักษ์ ที่กำหนดดำเนินการในเขตตำบลเข็กน้อยจำนวน 20,000 ไร่

3. รัฐควรหาแนวทางที่หลากหลายในการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งยั่งยืนให้แก่ชุมชนเข็กน้อย เพื่อให้เกิดทางเลือกที่เหมาะสมและอยู่บนพื้นฐานของความต้องการและความยินยอมพร้อมใจของประชาชนในพื้นที่

4. รัฐต้องไม่สร้างเงื่อนไขใดให้เกิดการเข้าใจผิดว่ามีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุความแตกต่างทางชาติพันธุ์

5. รัฐต้องประเมินทบทวนเงื่อนไขและปัจจัยต่างๆ ที่เคยใช้เป็นเครื่องมือในการโน้มน้าวและนำพาประชาชนในพื้นที่เข้ามีส่วนร่วมในปฏิบัติการต่างๆ ตามนโยบายของรัฐทุกประเด็นโดยคำนึงถึงหลักข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณา และสร้างให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจเข้าร่วมกับภาครัฐในโอกาสต่อๆ ไป เช่น การให้สิทธิอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยจากคอมมิวนิสต์ (มิใช่การให้สิทธิการเช่า) และนโยบาย 66/23


ข้อสังเกต

1 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
2 อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
3 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
4 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง
5 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
6 อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวะภาค


- ทำไมชาวม้งซึ่งเป็นราษฎรในพื้นที่ทำกินและอยู่อาศัยมาก่อนหลายปีจึงไม่มีสิทธิใดๆ ในที่ดินทำกินและอยู่อาศัยที่พึงมีได้ตามกฎหมาย และการดำเนินการใดๆ ขอรัฐมีความชอบธรรมมากเพียงใด และเป็นการเลือกปฏิบัติต่อราษฎรที่เป็นชนเผ่าที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์หรือไม่ และเป็นการขัดต่อหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หรือไม่

- ตามโครงการ 1 ล้านไร่กรมธนารักษ์ โดยหลักการแล้วเป็นการนำพื้นที่ราชพัสดุที่ส่วนราชการครอบครองไว้เกินความจำเป็นและหรือที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์นำมาจัดให้เกษตรกรเช่า แต่จากการชี้แจงของรัฐในการประชุมเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2553 และวันที่ 25 พฤษภาคม 2553 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย โดยผู้แทนกองทัพภาคที่ 3ชี้แจงต่อที่ประชุมชาวบ้านว่าทางกองทัพได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการส่งคืนที่ดินให้กรมธนารักษ์จะเป็นผลดีต่อราษฎรในพื้นที่มากกว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชี้แจงว่าเพื่อจะได้ลงโครงการพัฒนาต่างๆ จากรัฐได้ และธนารักษ์จังหวัดเพชรบูรณ์ชี้แจงว่าเพื่อให้สิทธิที่ดีกว่าแก่ราษฎรผู้ที่จะเป็นผู้เช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ ท้องถิ่นจะมีรายได้ และชาวบ้านก็จะมีเอกสารสิทธิการเช่าที่จากกรมธนารักษ์สามารถนำไปใช้ประโยชน์แปลงเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการของโครงการ 1 ล้านไร่กรมธนารักษ์ นอกจากนี้แล้วในข้อเท็จจริงปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าวมีราษฎรถือครองทำกินและอยู่อาศัยเต็มพื้นที่ ในขณะเดียวกันก็ยังมีราษฎรอีกจำนวนมากที่ยังไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง กรณีจึงไม่สามารถตีความได้ว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ส่วนราชการครอบครองไว้เกินความจำเป็นและหรือที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ แต่

- ทำไมรัฐจึงเฉพาะเจาะจงที่จะดำเนินการสำรวจรังวัดพื้นที่20,000 ไร่ในเขตตำบลเข็กน้อยดังกล่าวตาม
โครงการ 1 ล้านไร่กรมธนารักษ์ทั้งๆ ที่ราษฎรไม่ต้องการ และมีการคัดค้าน โดยรัฐจะยึดเอาแต่หลักกฎหมายที่ราชพัสดุไม่คำนึงถึงหลักอื่นๆ ประกอบในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของราษฎรในพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน มีความสมานฉันท์ และความปรองดองแห่งชาติ

- ต่อกรณีดังกล่าวถือเป็นปัจจัยภายนอกที่เกิดจากรัฐซึ่งมีแต่จะสร้างปัญหาแก่ชุมชนในพื้นที่เช่นเดียวกับในอดีตที่ผ่านมา

Email: daxiong28@gmail.com

Website  http://hmongthaiculture.blogspot.com



                         * รายงานผลการศึกษาการมีอยู่ การเปลี่ยนแปลง ปัญหาและความต้องการของชาวตำบลเข็กน้อย*