Peb Caug Khej Me 2020

https://www.youtube.com/watch?v=yY4R5L75Idk

Peb Caug Khej Me 2015 ประเพณีวัฒนธรรมชาวตำบลเ็กน้อยปี 2559

วิเคราะห์และเชื่อมโยงการมีอยู่ของชุมชนม้งเข็กน้อย

วิเคราะห์และเชื่อมโยงการมีอยู่ของชุมชนม้งเข็กน้อย

ชาวม้งเข็กน้อย เป็นกลุ่มประชากรที่เข้ามาบุกเบิกที่อยู่อาศัยและที่ทำกินในบริเวณพื้นที่รอยต่อสามจังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย ตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. 2465 โดยเปรียบเทียบจากเหตุการณ์และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองหรือสงครามญี่ปุ่น สงครามอินโดจีน การปลูกฝิ่นในประเทศไทย การต่อสู้ด้วยกำลังระหว่างรัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จนสิ้นสุดสงครามการต่อสู้ด้วยอาวุธถึงปัจจุบัน ประกอบกับการเกิดขึ้นและเข้ามาของหน่วยงานภาครัฐ เช่น โรงเรียนประชาบาล14 ตำรวจตระเวรชายแดน ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา กองทัพภาคที่ 3 ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ครั้งอดีตล้วนยืนยันว่าในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวมีประชากรชาวม้งอาศัยอยู่ก่อน
แล้วเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบว่าการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวม้งในพื้นที่ด้วยกันเองและกับชาวไทยพื้นราบล้วนผ่านระบบและกลไกของหน่วยงานภาครัฐเป็นสำคัญ มีการแต่งตั้งผู้นำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน มีการเก็บเกี่ยวภาษีฝิ่น และภาษีอื่นๆ โดยปรากฏจากหลักฐานเอกสารการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน บัตรประจำตัวประชาชน เอกสารการศึกษา เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีองค์การศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก(คริสตัง) และโปรเตสแตนท์(คริสเตียน) เข้ามาเผยแพร่และส่งเสริมการนับถือศาสนาในหมู่บ้านชาวม้งตั้งแต่อดีตและมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่กลุ่มชาวม้งที่ออกมาอยู่กับฝ่ายรัฐบาลในวันเสียงปืนแตกก่อนที่จะไปอยู่ในความดูแลของทางราชการแม้ว่าชาวม้งในพื้นที่จะมีการเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งตลอดเวลาในระหว่างที่อยู่ในพื้นที่ แต่ก็เป็นการเคลื่อนย้ายที่มีหมู่บ้านและชุมชนรองรับ ไม่ได้เคลื่อนย้ายออกไปยังที่อื่น และมีการจับจองและเข้าแสดงการครอบครองที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองอย่างชัดแจ้ง การครอบครองที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยมิได้หมายความแต่เพียงว่า
ต้องมีการถาดถางต้นไม้หรือตัดไม้ทำลายป่าให้มีพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกทุกตารางนิ้ว แต่การอาศัยอยู่ในป่ายังคงต้องพึ่งพาระบบนิเวศน์ในป่า ดังนั้นการไม่ตัดไม้หรือแผ้วถางให้หมดจึงมิได้หมายความว่าไม่ใช่ที่ซึ่งพวกเขาอยู่อาศัยหรือทำกินในทางตรงข้ามยิ่งแสดงให้เห็นถึงการหวงแหนและการผูกพันต่อทรัพยากรธรรมชาติที่ตนเองต้องใช้ชีวิตอยู่ กรณียังคงเด่นชัดเมื่อมีการต่อสู้ด้วยอาวุธระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่มวลชนของพรรคคอมมิวนิสต์ตรึงพื้นที่อยู่ในป่าแต่ก็มิได้ตัดไม้ทำลายป่าแต่กลับใช้ป่าเป็นที่กำบังทำให้สามารถคงไว้ซึ่งทรัพยากรป่าไม้เป็นจำนวนมากใน
ขณะนั้น การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่เตียนโล่งให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยเหตุผลความมั่นคง (ปลอดภัยจากการซุ่มโจมตีของ ผกค.) การสัมปทานป่าไม้และการเพิ่มพื้นที่การปลูกพืชเศรษฐกิจ ก็ล้วนมาจากนโยบายของรัฐทั้งสิ้น ชาวม้งในพื้นที่เพียงแต่เคลื่อนไหลไปกับปัจจัยที่รัฐเป็นผู้กำหนด ในขณะที่รัฐต้องการควบคุมและกลมกลืนกลุ่มประชากรนี้โดยใช้กลไกเครื่องมือทางกฎหมาย เช่น การออกมติคณะรัฐมนตรี การกำหนดนโยบายพัฒนาชาวเขา การกำหนดเขตแดนให้อยู่อาศัยและทำกิน การปราบปรามยาเสพติด และการจำกัดสิทธิของชาวเขา ก็ล้วนแล้วแต่กระทำอย่างคู่ขนานไปกับการมี
อยู่และพัฒนาการของพวกเขาอย่างที่รัฐไม่เคยคำนึงถึงปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดแก่ประชากรกลุ่มนี้ในระยะยาวอย่างเช่นปัจจุบัน ทำให้ปัญหาต่างๆ ไม่สามารถแก้ไขได้อย่างที่ควรจะเป็น
การเข้ามาของเจ้าหน้าที่รัฐในแต่ละยุคสมัยก็ขาดการส่งต่อ และขาดแผนที่ดีสำหรับหน่วยงานรัฐด้วยกันเองเจ้าหน้าที่ผู้มาใหม่จึงขาดความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและไม่สามารถเชื่อมต่อสถานการณ์ต่างๆ ในพื้นที่ แต่กลับยึดเอานโยบายจากส่วนกลาง ระเบียบและข้อกฎหมายเป็นหลัก ทำให้สัมพันธภาพกับชุมชนในพื้นที่ไม่ค่อยราบรื่นและกลายเป็นความขัดแย้งไปในที่สุด จากบทเรียนที่กล่าวมาในตอนแรกก็เห็นแล้วว่าการเข้ามาของรัฐและการแทรกซึมของพรรคคอมมิวนิสต์ทำให้ชุมชนและหมู่บ้านม้งทั้งหมดต้องแตกสลายไปในปี พ.ศ. 2511เมื่อก่อตั้งบ้านเข็กน้อยได้อีกครั้ง และทุกคนกลับมาอยู่รวมกันที่เข็กน้อยอีกครั้งหนึ่ง จนเป็นชุมชนม้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ชาวม้งตำบลเข็กน้อยจึงไม่ต้องการซ้ำรอยเดิม แต่ต้องการรักษาชุมชนม้งแห่งนี้ไว้มิให้ต้องแตกสลายไป ดังนั้น การมีตัวตนอยู่ของพวกเขาตั้งแต่บรรพบุรุษ และประสบการณ์ของพวกเขาจึงเป็นความชอบธรรมอย่างหนึ่งในการไม่เห็นด้วยและจำเป็นต้องคัดค้านต่อปัจจัยภายนอกที่อาจเข้ามาสร้างปัญหาต่อพวกเขาเหมือนอย่างในอดีตอีกจากเหตุการณ์ ปัจจัยต่างๆ และความรู้สึกผูกพันเหล่านี้จึงเป็นเสมือนเครื่องยืนยันว่าชาวม้งเข็กน้อยที่นี่ทุกคนเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมในพื้นที่รอยต่อสามจังหวัด เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย พวกเขาชอบที่จะอยู่และทำกินบนที่ดินซึ่งพรรพบุรุษของพวกเขาได้เข้ามาบุกเบิกตั้งแต่แรก อย่างน้อยที่สุดพวกเขาก็มีสิทธิในการปกป้องรักษาและแสดงความไม่เห็นด้วยตลอดจนการคัดค้านโครงการ หรือปัจจัยต่างๆ จากภายนอกที่อาจเป็นปัญหาและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของพวกเขาทั้งปัจจุบันและในอนาคต อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีการรับรองไว้ในหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550โดยสรุปก็คือ ชาวม้งที่นี่เข้ามาบุกเบิกจับจองเพื่ออยู่อาศัยและทำกินตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. 2465 เป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 8,000 คน จนถึงปี พ.ศ. 2511 ชุมชนม้งในพื้นที่แยกเป็นสองกลุ่มใหญ่เมื่อเกิดการสู้รบระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ กลุ่มแรกเข้าร่วมคอมมิวนิสต์อยู่ในพื้นที่ไม่ได้ย้ายไปที่อื่น ส่วนกลุ่มที่สองเข้าร่วมกับรัฐบาล กลับมาอยู่ในพื้นที่ ณ บ้านเข็กน้อย ในปี พ.ศ. 2513 ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 กลุ่มที่เข้าร่วมคอมมิวนิสต์ได้มาอยู่ร่วมเมื่อสิ้นสุดการสู้รบ
ระหว่างรัฐบาลและคอมมิวนิสต์จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งในระหว่างนี้รัฐเพิ่งเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเริ่มจากปี พ.ศ. 2502, 2509โดยมีมติ ครม. กันพื้นที่เพื่อจัดตั้งนิคมสงเคราะห์ชาวเขา จำนวน 212,500 ไร่ ประกาศพื้นที่เป็นอุทธยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงทับที่ของชาวบ้าน ในปี พ.ศ. 2506 กองทัพภาคที่ 3 ขอใช้พื้นที่เพื่อความมั่นคงจำนวน 20,000 ไร่ในปี พ.ศ. 2515มีกฎหมายที่ราชพัสดุในปี พ.ศ. 2518 และในปี พ.ศ. 2545 ครม. ก็ได้มีมติให้คืนที่ดินนิคมฯ บางส่วนแก่กรมป่าไม้อันเป็นการเข้ามาภายหลังการมีอยู่ก่อนแล้วของชุมชนม้งในเขตรอยต่อสามจังหวัด เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย

ประชากรตำบลเข็กน้อย

ตำบลเข็กน้อย มีประชากรทั้งหมด 2,864 ครัวเรือน 12,818 คน 
มีหมู่บ้านทั้งหมด 12 หมู่บ้านได้แก่



หมู่ที่ 1       บ้านห้วยน้ำขาว มีประชากร 202 ครัวเรือน 921 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 2        บ้านเข็กน้อย (บ้านน้ำประปา) มีประชากร 318 ครัวเรือน 1,095 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 3        บ้านป่ากล้วย มีประชากร 230 ครัวเรือน 948 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 4        บ้านเข็กน้อย มีประชากร 351 ครัวเรือน 1,178 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 5        บ้านเล่าลือเก่า มีประชากร 296 ครัวเรือน 1,301 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 6        บ้านปากทาง มีประชากร 297 ครัวเรือน 1,306 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 7        บ้านศักดิ์เจริญ มีประชากร 77 ครัวเรือน 501 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที 8        บ้านชัยชนะ มีประชากร 158 ครัวเรือน 834 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 9        บ้านประกอบสุข มีประชากร 152 ครัวเรือน 747 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 10       บ้านเจริญพัฒนา มีประชากร 298 ครัวเรือน 1,493 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 11       บ้านคีรีรัตน์ มีประชากร 224 ครัวเรือน 1,042 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมู่ที่ 12       บ้านสันติสุข มีประชากร 261 ครัวเรือน 1,452 คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผู้อาวุโสชาวม้งในพื้นที่ผู้ร่วมให้ข้อมูล






คณะทำงานติดตามการแก้ไขปัญหาที่ดินตำบลเข็กน้อย

คณะทำงานติดตามการแก้ไขปัญหาที่ดินตำบลเข็กน้อย
รายชื่อคณะทำงานติดตามการแก้ไขปัญหาที่ดินตำบลเข็กน้อยประกอบด้วย

1. นายจือตัว แสงวิริยนาม ตัวแทนจากหมู่1
2. ร.ต.วิเชียร อรรถยากร ตัวแทนจากหมู่2
3. นายเอกชัย คีรีรัตน์สกุล ตัวแทนจากหมู่3
4. นายประจวบ ฤทธิ์เนติกุล ตัวแทนจากหมู่ 4
5. นายยี แซ่เถา ตัวแทนจากหมู่5
6. นายรณชัย การุณบริรักษ์ ตัวแทนจากหมู่6
7. นายวิทยา เถาไพรมณี ตัวแทนจากหมู่7
8. นายดะ ทรงสวัสดิ์วงศ์ ตัวแทนจากหมู่8
9. นายคุณาวุฒิ แซ่ลี ตัวแทนจากหมู่9
10. นายสุพจน์ ทรงสวัสดิ์วงศ์ ตัวแทนจากหมู่10
11. นายสุเมศ ศักดิ์เจริญชัยกุล ตัวแทนจากหมู่11
12. นายสุบิน การุณบริรักษ์ ตัวแทนจากหมู่12
13. นายกำจัด แสนยากุล ตัวแทนจากชมรมทหารผ่านศึก
14. นายยงยุทธ สืบทายาท จากที่ประชุมชาวบ้านตำบลเข็กน้อย


คณะทำงานฯ ได้เลือกแกนนำจำนวน 6 คน เพื่อทำหน้าที่
ในการติดต่อประสานงานและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ได้แก่

1. นายประจวบ ฤทธิ์เนติกุล
2. จ.ส.อ. ชาญชัย แสนยากุล
3. นายยงยุทธ สืบทายาท
4. นายสมชาย ชาววิวัฒน์
5. นายสุพจน์ ทรงสวัสดิ์วงศ์
6. นายสิทธิชาติ แซ่หว้า
คณะที่ปรึกษาประกอบด้วย
1. ผู้อาวุโสจากแต่ละตระกูลแซ่ทุกแซ่
2. สมาชิกสภาจังหวัดเพชรบูรณ์ เขตเขาค้อ
3. กำนันตำบลเข็กน้อย
4. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย
5. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย
6. ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน
7. สมาชิก อบต. ทุกหมู่บ้าน


รายชื่อคณะทำงานติดตามการแก้ไขปัญหาที่ดินตำบลเข็กน้อยประกอบด้วย

1. นายจือตัว แสงวิริยนาม ตัวแทนจากหมู่1
2. ร.ต.วิเชียร อรรถยากร ตัวแทนจากหมู่2
3. นายเอกชัย คีรีรัตน์สกุล ตัวแทนจากหมู่3
4. นายประจวบ ฤทธิ์เนติกุล ตัวแทนจากหมู่ 4
5. นายยี แซ่เถา ตัวแทนจากหมู่5
6. นายรณชัย การุณบริรักษ์ ตัวแทนจากหมู่6
7. นายวิทยา เถาไพรมณี ตัวแทนจากหมู่7
8. นายดะ ทรงสวัสดิ์วงศ์ ตัวแทนจากหมู่8
9. นายคุณาวุฒิ แซ่ลี ตัวแทนจากหมู่9
10. นายสุพจน์ ทรงสวัสดิ์วงศ์ ตัวแทนจากหมู่10
11. นายสุเมศ ศักดิ์เจริญชัยกุล ตัวแทนจากหมู่11
12. นายสุบิน การุณบริรักษ์ ตัวแทนจากหมู่12
13. นายกำจัด แสนยากุล ตัวแทนจากชมรมทหารผ่านศึก
14. นายยงยุทธ สืบทายาท จากที่ประชุมชาวบ้านตำบลเข็กน้อย

คณะทำงานฯ ได้เลือกแกนนำจำนวน 6 คนเพื่อทำหน้าที่ในการ
ติดต่อประสานงานและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ได้แก่

1. นายประจวบ ฤทธิ์เนติกุล
2. จ.ส.อ. ชาญชัย แสนยากุล
3. นายยงยุทธ สืบทายาท
4. นายสมชาย ชาววิวัฒน์
5. นายสุพจน์ ทรงสวัสดิ์วงศ์
6. นายสิทธิชาติ แซ่หว้า

คณะที่ปรึกษาประกอบด้วย

1. ผู้อาวุโสจากแต่ละตระกูลแซ่ทุกแซ่
2. สมาชิกสภาจังหวัดเพชรบูรณ์ เขตเขาค้อ
3. กำนันตำบลเข็กน้อย
4. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย
5. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย
6. ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน
7. สมาชิก อบต. ทุกหมู่บ้าน